ออกแบบและติดตั้งอาคารสำเร็จรูปครบวงจร

โทรศัพท์ : 038-320150 แฟ็ก : 038-320190 Line ID : mkmodular อีเมล์ info@modular-thailand.com Modern Modular Company

วิวัฒนาการการก่อสร้างอาคารสำเร็จรูป สู่ "ระบบโมดูลาร์"

ความเป็นมา

วิวัฒนาการของการก่อสร้างอาคารได้เน้นการให้ความสำคัญในแต่ละประเด็นแตกต่างกันไป ถ้าหากแบ่งแยกออกเป็นระยะเวลาอาจจะแบ่งได้ดังนี้

ในช่วงแรก เป็นระยะที่เป็นสังคมแบบเกษตรกรรม เริ่มจะมีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งหลังจากการเร่ร่อนในยุคก่อนหน้านั้น เกิดพัฒนาการของการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยหรือบ้านเรือนดีขึ้น เป็นการพัฒนาอาคารให้มั่นคงมากขึ้นโดยใช้ไม้ หิน อิฐ ดินและวัสดุที่มีในท้องถิ่น ในช่วงนี้นี่เองที่งานฝีมือต่างๆ ได้พัฒนาใส่เข้าไปในการก่อสร้างอาคาร

การพัฒนาการก่อสร้าง

การก่อสร้างสังคมแบบเกษตรกรรมในยุคแรก
ที่มา http://behemoths35.rssing.com/chan-18084877/all_p3.html

ช่วงที่สอง เป็นช่วงอุตสาหกรรมเป็นผลพวงมาจากการพัฒนาระบบเครื่องกลโดยใช้พลังงานเข้ามาช่วยเริ่มจากเครื่องจักรไอน้ำ ไปสู่พลังงานไฟฟ้า และพลังงานจากน้ำมัน การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 18 เมื่อมีการคิดค้นเครื่องจักรไอน้ำ เครื่องจักรช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น ทำงานใหญ่ๆ ได้ และมีความแม่นยำในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ก็มีการคิดค้นวัสดุใหม่ๆ สำหรับการก่อสร้างด้วย ที่สำคัญและส่งผลต่อการก่อสร้างมาถึงปัจจุบันคือ ระบบโครงสร้างเหล็กและโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ในช่วงท้ายๆ ของศตวรรษที่ 19 ต่อมาช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ระบบอุตสาหกรรมได้เข้าไปมีส่วนในการก่อสร้างมากขึ้น เกิดการคิดค้นส่วนประกอบที่สำเร็จรูปแล้วนำมาติดตั้ง อันเป็นจุดเริ่มต้นของระบบสำเร็จรูปในยุคต่อมา

การก่อสร้างอาคารด้วยระบบสำเร็จรูปแบบใช้โครงสร้างเหล็ก

The Jesuitenkirche on Schillerplatz 1943 and today, swastikas replaced
ที่มา http://www.tracesofevil.com/search/label/Ulm

ช่วงที่สาม เป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร เริ่มจากช่วงหลังของศตวรรษที่ 20 มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการออกแบบและก่อสร้างอาคาร มีการส่งถ่ายข้อมูลอย่างทั่วถึงทุกมุมโลก เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล เทคนิคทางการก่อสร้างอย่างมากมาย การก่อสร้างมีการควบคุมมาตรฐานให้สูงขึ้น ระบบอุตสาหกรรมมีความก้าวหน้าอย่างมาก เมื่อมีการก่อสร้างที่ใช้รูปแบบเดียวกันเยอะ ระบบสำเร็จรูปจะถูกนำกลับมาใช้และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากกว่ายุคเริ่มต้น รวมทั้งส่วนประกอบของอาคารที่มีขนาดใหญ่ก็ถูกทำสำเร็จรูปจากโรงงานนำมาประกอบที่ก่อสร้างได้

การออกแบบอาคารสำเร็จรูป

From Compute! Vol. 4 Issue 4 Fall/Winter 1986
ที่มา http://www.1000bit.it/support/articoli/apple/a2gs/the_new_apple_iigs.asp

 

การก่อสร้างอาคารสำเร็จรูป

1998 Varian Law Offices Sketches, Renderings, Plan, Photos (Design, Rendering, and Construction Documents)
ที่มา http://archinect.com/CSSullivan/project/1998-varian-law-offices-sketches-renderings-plan-photos-design-rendering-and-construction-documents

แท้ที่จริงแล้วระบบสำเร็จรูปสำหรับอาคารขนาดใหญ่มีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์ กรีก หรือโรมันแล้ว โดยสมัยนั้น หินจะถูกสกัดเป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูปก่อนนำมาติดตั้งที่ที่ก่อสร้างอาคาร ส่วนประกอบเหล่านั้นอาจจะเป็นส่วนของเสา คาน หรือพื้น บางชิ้นมีน้ำหนักมากถึง 100 ตัน บางครั้งที่ผลิตหรือขึ้นรูปอยู่ห่างจากที่ก่อสร้างเป็นร้อยกิโลเมตร

การก่อสร้างอาคารสำเร็จรูปขนาดใหญ่ในยุคแรก

การก่อสร้างสมัยอียิปต์โบราณ
ที่มา http://www.thaiengineering.com/

การขนส่งและการติดตั้งของชิ้นส่วนสำเร็จรูปเป็นข้อที่ควรพิจารณาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ต้องคำนึงถึงเครื่องมือที่มี แรงงานที่มี และการจัดการที่ดีพอ การที่จะก่อสร้างระบบสำเร็จรูปได้ต้องมีการบูรณาการระหว่างระบบต่างๆ เป็นอย่างดี

ระบบสำเร็จรูปถูกใช้ในการก่อสร้างอาคารเพื่อเหตุผลหลักๆ คือ ลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างความรวดเร็วในการก่อสร้าง และคุณภาพของงานที่ออกมามีมาตรฐาน ระบบสำเร็จรูปเป็นผลพวงจากเครื่องมือที่ดีขึ้นและระบบการขนส่งในช่วงศตวรรษที่ 19 ในระยะแรกส่วนประกอบของระบบสำเร็จรูปมักจะใช้ไม้และเหล็กเป็นส่วนใหญ่ เริ่มจากการใช้ในอาคารพักอาศัยและอาคารสาธารณะต่างๆ ตัวอย่างที่สำคัญที่เป็นตัวอย่างแห่งวิวัฒนาการที่สำคัญของระบบสำเร็จรูปเกิดขึ้น

ในช่วงสงคราม Crimean ในช่วงปี 1830-1857 ในเวลาสองเดือนที่พักทหารจำนวน 1400 หลัง สามารถสร้างได้ด้วยระบบสำเร็จรูป ในอังกฤษ ก่อนที่จะถูกส่งไปที่สู้รบจริงซึ่งอยู่ห่างออกไป 5000 กม. แต่ละหลังใช้ไม้เป็นโครงสร้างหลักและผนัง เพื่อเป็นที่พักให้แก่ทหารอังกฤษและฝรั่งเศสจำนวนประมาณ 20-25 คนต่อหลัง

การก่อสร้างอาคารด้วยระบบสำเร็จรูป

Pictured above left, one of the first prefab houses, still standing in Australia today, constructed circa 1830. Pictured above right, the first modular hospital erected in 1855 during the Crimean War. It was disassembled in 1857.
ที่มา http://www.jandelhomes.com/2014/05/29/modularprefab-is-now-mainstream-but-it-is-certainly-not-new-part-1/

อีกตัวอย่างที่สำคัญของระบบสำเร็จรูปคือ Crystal Palace ที่ London ซึ่งสร้างไว้สำหรับงาน Expo ในปี 1851 ส่วนประกอบต่างๆ เป็นส่วนประกอบสำเร็จรูปของเหล็ก กับกระจก เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอันก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมของอังกฤษ ซึ่งสามารถผลิตชิ้นส่วนต่างๆของอาคารได้แล้ว

ตัวอย่างการก่อสร้างอาคารระบบสำเร็จรูปแบบใช้โครงเหล็ก

standardized pieces with bolted connections that made the great structures of the Industrial Revolution possible. Crystal Palace, London, 1851.
ที่มา http://www.tectonica-online.com/topics/industrialization/industrial-myth-enrique-azpilicueta-ramon-araujo/38/

อาคารที่สร้างด้วยระบบสำเร็จรูปโดยใช้โครงเหล็ก

The Crystal Palace, Hyde Park, London in 1851
ที่มา http://www.thelatestnews.com/will-the-crystal-palace-be-rebuilt/

ในช่วงศตวรรษที่ 19 คอนกรีตเสริมเหล็กเข้ามามีบทบาทอย่างสูงในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ส่วนประกอบหลักเป็น ทราย หิน กรวด น้ำ ซึ่งเป็นวัสดุที่สามารถหาได้โดยง่ายทั่วไป และสามารถก่อรูปได้มากมายหลายรูปแบบ ในแง่ของโครงสร้างก็มีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อม คอนกรีตเสริมเหล็กเรียกว่าระบบ Precast Concrete การก่อสร้างในระบบ Precast Concrete ถูกใช้ครั้งแรกโดย W.H. Lascells ในอังกฤษ เมื่อปี 1878 เขาใช้ผนังคอนกรีตหล่อสำเร็จบางๆ มาประกอบเข้ากับเสาไม้และใช้ตงคอนกรีตหล่อสำเร็จเป็นโครงสร้างพื้นสำหรับบ้านหลังเล็กๆ ระบบสำเร็จรูปได้ถูกพัฒนาในระดับสูงเมื่อพัฒนาการทางการขนส่งและเครื่องมือในการยกของหนักหรือเครนในการก่อสร้าง โดยเฉพาะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความต้องการที่พักอาศัยมีอย่างมากมาย ในระยะเริ่มต้นนั้นส่วนประกอบสำเร็จในการก่อสร้างอาคารมีทั้ง พื้นสำเร็จรูปโครงสร้างทางด้านตั้ง ผนังภายนอก บันได ส่วนประกอบทางสุขภัณฑ์ เหล่านี้จะทำให้การก่อสร้างจำนวนมาก ๆ มีมาตรฐานในการก่อสร้างมากขึ้น

การสร้างอาคารสำเร็จรูประบบน็อคดาวน์

A seven-storey block of student Knock down Windsor House, Windsor Lane, off Dumfries Place to make way for the new building which will accommodate up to 321 students.
ที่มา www.walesonline.co.uk

ความต้องการระบบก่อสร้างแบบสำเร็จรูปมาถึงยุครุ่งเรืองที่สุดในช่วงปี 1950s, 1960s และปี 1970s ในยุโรปตะวันออก ซึ่งระบบสำเร็จกลายเป็นกระบวนการก่อสร้างหลักของประเทศเหล่านี้ ทางฝั่งยุโรปตะวันตกก็มีการก่อสร้างสำเร็จมากขึ้นเพื่อการก่อสร้างเมืองใหม่ขึ้นมาข้างเคียงบ้านเรือนสมัยเก่าและอาคารที่พักสมัยใหม่ต่างๆ ระบบสำเร็จรูปเข้าไปไปในอเมริกาซึ่งมีความเชี่ยวชาญในระบบสำเร็จรูปแบบเบาของการทำบ้านสำเร็จรูปขนาดเล็กที่เรียกว่า Mobile House ซึ่งเป็นที่พักอาศัยในช่วงต้นปี 1970s อเมริกามีความต้องการสร้างอาคารชุดที่พักอาศัยขนาดใหญ่มากมาย

การสร้างอาคารสำเร็จรูปขนาดเล็ก

Vintage 1960 Time Capsule Rollohome Mobile Home Trailer
ที่มา http://www.nopatternrequired.com/

ทำให้ระบบสำเร็จรูปอยู่ในความสนใจของวงการก่อสร้างในอเมริกามากขึ้นกล่าวได้ว่าระบบก่อสร้างสำเร็จรูปเกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่ออาคารที่พักอาศัยเป็นหลักในระยะเริ่มต้น อย่างไรก็ตามระบบสำเร็จรูปนี้ได้ถูกทบทวนและนำมาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียกับระบบก่อสร้างแบบเดิมเพื่อตัดสินใจในการเลือกแนวทางอยู่เสมอ ความไม่เข้าใจในระบบของผู้ออกแบบและผู้ก่อสร้างทำให้อาคารสำเร็จรูปทำให้การก่อสร้างไม่ประสบความสำเร็จในหลายๆ โครงการ เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นของระบบสำเร็จรูปทำให้นักลงทุนหรือเจ้าของอาคารเลือกที่จะใช้กระบวนการก่อสร้างแบบเดิมๆ ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า

ในปัจจุบันเทคโนโลยีในการก่อสร้าง, ระยะเวลาในการก่อสร้างและการขนส่ง เปิดโอกาสให้ระบบสำเร็จรูปกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง หากสถาปนิกหันมาทำความเข้าใจและศึกษาในหัวข้อนี้อย่างจริงจัง ระบบสำเร็จรูปก็น่าจะเป็นทางเลือกในการก่อสร้างที่ดีอีกทางหนึ่งรูปแบบของระบบสำเร็จรูป

ระบบหรือวิธีการที่ใช้ในการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปสามารถแยกตามระบบการประกอบเป็น

1. ระบบคอนกรีตสำเร็จรูป ( Precast Concrete System )

2. ระบบน็อคดาวน์ ( Knock Down System )

3. ระบบโมดูลาร์ หรือ ระบบสำเร็จรูป ( Modular System or Prefabricate System)

ระบบคอนกรีตสำเร็จรูป ( Precast Concrete System )

การก่อสร้างสำเร็จรูปในระบบของคอนกรีตสำเร็จรูป ( Precast Concrete System ) ซึ่งสามารถทำได้ทั้งแบบหล่อกับที่ (Site Cast) และหล่อจากโรงงาน (Plant Cast)

Site Cast Units

โครงสร้างคอนกรีตสามารถที่จะหล่อสำเร็จก่อนที่จะยกไปติดตั้งโดยใช้เครนยก การหล่อสำเร็จที่ที่ก่อสร้างมีข้อได้เปรียบการหล่อจากโรงงานหลายประการ เช่น สามารถหล่อส่วนประกอบที่มีขนาดใหญ่กว่า เพราะไม่ต้องคำนึงถึงการขนส่งมาก เหมาะสำหรับการหล่อคานขนาดใหญ่ แต่ก็ต้องคำนึงถึงกำลังในการยกของเครนด้วย ข้อเสียคือ ในภาวะที่อากาศเลวร้ายจะทำให้การก่อสร้างล่าช้า และต้องเผื่อเวลาในการเซตตัวของคอนกรีต Precast Concrete ที่นิยมหล่อกับที่ได้แก่ พื้นหรือผนัง เพราะจะช่วยลดขั้นตอนในการขนคอนกรีตขึ้นไปเทบนอาคาร การออกแบบพื้นหรือผนัง Slab สำเร็จหรือส่วนประกอบสำเร็จรูปอื่นๆจะต้องคำนึงถึงการยกด้วยเครนเสมอ หากส่วนประกอบเหล่านั้นถูกยกทางแนวราบ วิศวกรจะต้องคำนวณการรับน้ำหนักของตัวเอง เพื่อป้องกันการแตกหักขณะยก

การสร้างอาคารสำเร็จรูปขนาดใหญ่

Site Cast Units
ที่มา http://wilkersonproperties.com/4319_Huron.html

Plant Cast Units

ในประเทศแถบหนาวหรือประเทศในแถบที่มีอากาศแปรปรวน การก่อสร้างมักจะประสบปัญหาความล่าช้าในการก่อสร้าง การทำส่วนประกอบสำเร็จรูปจากโรงงานจึงเป็นทางออกหนึ่ง ส่วนประกอบเหล่านั้นอาจจะหล่อกับพื้นโรงงานก่อนที่จะยก ขนส่งไปยังที่ก่อสร้างอาคารต่อไป การหล่อสำเร็จจากโรงงานจะช่วยลดต้นทุนในการผลิตและง่ายต่อการควบคุมคุณภาพของชิ้นส่วนต่างๆ ชิ้นส่วนเหล่านี้จะถูกส่งไปที่ก่อสร้างทางรถยนต์เป็นหลัก ซึ่งจะถูกจำกัดด้วยกฎหมายจราจรของแต่ละประเทศ สิ่งนี้เองที่เป็นตัวกำหนดขนาดมาตรฐานในการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ กล่าวคือ จะต้องสามารถขนส่งในท้องถนนได้ ในรูปทรงที่มาตรฐานสองสามแบบ เพื่อมาประกอบเป็นส่วนใหญ่ต่อไปในที่ก่อสร้าง เมื่อชิ้นส่วนสำเร็จรูปเหล่านี้ถูกส่งมาถึงที่ก่อสร้างจะถูกนำไปประกอบเป็นอาคารอย่างรวดเร็วทำให้ผลกระทบจากภาวะอากาศน้อยลง และชิ้นส่วนสำเร็จเหล่านี้ไม่ต้องรอการเซตตัวของคอนกรีตเหมือนแบบหล่อกับที่ ระบบ Precast จะต้องนำไปประกอบติดตั้งหน้างานที่ละชิ้นส่วน เช่น เสา, พื้น, ผนัง นิยมใช้ในการก่อสร้าง ที่จอดรถ สะพาน โกดัง อาคารทางอุตสาหกรรม สนามกีฬา และอื่นๆ ที่เน้นโครงสร้างขนาดใหญ่ ชิ้นส่วนสำเร็จรูปแบบแผ่น เป็นแบบที่ได้รับความนิยมในอาคารสำเร็จรูปแบบเต็มรูปแบบ แผ่นสำเร็จนี้มีทั้ง แผ่นพื้นสำเร็จรูปและแผ่นผนังสำเร็จรูป ซึ่งจะทำให้การติดตั้งรวดเร็วกว่าระบบโครงสำเร็จรูปอย่างมาก ทั้งนี้แผ่นสำเร็จรูปเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างในตัวด้วย แต่ไม่ค่อยจะได้รับความนิยมเท่าไรนัก เนื่องจากไม่มีพื้นฐานในการใช้โครงสร้างผนังรับน้ำหนักเหมือนในยุโรปและอเมริกา ระบบแผ่นสำเร็จรูปนี้อาจจะออกแบบให้มีระบบร้อยสายไฟและระบบท่อในตัวด้วย และควรจะมีส่วนประกอบทางฉนวนในตัวเพื่อลดขั้นตอนในการก่อสร้างที่ที่ก่อสร้าง ประตู หน้าต่างอาจจะติดมาด้วยหรือไม่ก็ได้ ระบบนี้นิยมใช้ในอาคารประเภท ที่พักอาศัย สำนักงาน โรงงาน โรงแรม และอื่นๆ ที่มีการถ่ายแรงเป็นระบบ ไม่ต้องการช่วงระยะโครงสร้างที่ยาวนัก ซึ่งน้ำหนักของ Precast Concrete ก็เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายอย่างมาก ซึ่งได้มีการพัฒนาคอนกรีตมวลเบา ( Lightweight Concrete Mass ) มาใช้เพื่อประโยชน์ในการก่อสร้างมากมาย

การสร้างชิ้นส่วนอาคารสำเร็จรูป

Lean-Precast-Carousel Schlanke Fertigung von Betonfertigteilen
ที่มา www.precastplants.com

การขนส่งชิ้นส่วนอาคารสำเร็จรูป

Precast Concrete Paving Slabs: Built to Last and Install Fast
ที่มา http://precast.org/2011/05/precast-concrete-paving-slabs-built-to-last-and-install-fast/

การติดตั้งชิ้นส่วนอาคารสำเร็จรูป

Precast Concrete Walls – Rapid Installation, Long-Lasting Protection and Removal for Equipment Access
ที่มา http://stonetreefence.com/fence-systems/

ระบบน็อคดาวน์ ( Knock Down System )

ระบบน็อคดาวน์ ( Knock Down System ) คือ ระบบที่นำเอาชิ้นส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ไปประกอบติดตั้งในพื้นที่ ๆ ต้องการสามารถถอดประกอบได้ สร้างจากไม้, เหล็ก หรือ คอนกรีต ระบบการประกอบแบบ Knock Down ทำได้ทั้งอาคารขนาดเล็กจนถึงอาคารขนาดใหญ่ ซึ่งได้มีการนำระบบ Knock Down ทั้งระบบ หรือ Knock Down บางส่วน มาประยุกต์ใช้ในอาคารขนาดเล็ก เช่น โต๊ะ, ตู้, บ้านพักอาศัย, ร้านกาแฟ, รีสอร์ท, สำนักงานชั่วคราว, สำนักงานขาย ฯลฯ และอาคารขนาดใหญ่ เช่น โรงแรม, อพาร์ทเมนท์, คลังสินค้า, สะพาน, โรงงาน ฯลฯ อีกทั้งยังสามรถนำตู้ Container มาดัดแปลงให้ใช้ระบบ Knock Downได้ การก่อสร้างโดยใช้ระบบ Knock Down เข้ามาช่วยในการประกอบทำได้ทั้งภายนอกโรงงาน และภายในโรงงาน สามารถประกอบชิ้นส่วนในโรงงานหรือแม้กระทั่งการนำชิ้นส่วนที่เตรียมไว้ไปประกอบติดตั้งที่หน้างานจริง ชิ้นส่วนของอาคารหรือโครงสร้างที่ใช้ระบบ Knock Down จะติดตั้งแบบขันน๊อต ( Bolt & Nut ) เพื่อง่ายต่อการติดตั้งและรื้อถอน สำหรับอาคารที่ต้องการติดตั้งแบบถาวรจะใช้วิธีการเชื่อม ( Welding ) มาช่วยในการประกอบ ซึ่งทุกชิ้นส่วนจะถูกออกแบบและควบคุมคุณภาพในการผลิต และขนส่งไปยังพื้นที่ติดตั้ง สามารถควบคุมรายจ่ายได้ ทำให้ประหยัดเงินในกระเป๋าเนื่องจากราคาไม่แพง, ใช้เวลาในการก่อสร้างน้อย

การก่อสร้างอาคารสำเร็จรูป

โครงการบ้านพักกรมทางหลวง จังหวัดบุรีรัมย์
ที่สร้างโดยระบบน็อคดาวน์ พ.ศ. 2558 จาก บริษัท โมเดิร์น โมดูลาร์ จำกัด

งานอื่นๆ ที่ต้องทำนอกเหนือจากการเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนมาประกอบในบริเวณสถานที่ ที่เราต้องการแล้ว ก็คือ การทำฐานรากเตรียมเอาไว้ เพื่อยึดให้อาคารตั้งมั่นคงอยู่กับที่ และดำเนินการเรื่องสาธารณูปโภค น้ำประปาไฟฟ้า รอเอาไว้ เมื่ออาคารมาถึงก็สามารถติดตั้งระบบน้ำประปาและติดตั้งระบบไฟฟ้าเข้าไปในตัวอาคารได้เลย

Modular System or Prefabricate System

การก่อสร้างระบบ Modular หรือ ระบบ Prefabricate คือ ระบบการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปที่ถูกพัฒนาจากการก่อสร้างสำเร็จรูปแบบ Precast Concrete System และ Knock Down System เป็นกระบวนการสร้างอาคารนอกสถานที่ก่อสร้าง ภายใต้การควบคุมดูแลของการผลิตภายในโรงงานโดยมีการออกแบบให้ใช้เหล็กเป็นโครงสร้างหลัก สามารถออกแบบพื้นและผนังเป็นแบบ Precast Concrete หรือ Cement Board วัสดุตกแต่งมาตรฐานเดียวกับงานก่อสร้างอาคารทั่วไป แต่ใช้ระยะเวลาการก่อสร้างเพียงครึ่งหนึ่ง โดยเวลาการก่อสร้างส่วนใหญ่ทำภายในพื้นที่โรงงาน และนำไปติดตั้งและเก็บงานที่ก่อสร้างเพียงเล็กน้อย การก่อสร้างระบบ Modular เป็นการผลิตในรูปแบบของ " Module" ซึ่ง Module ที่ผลิตออกมาจะมีขนาดตามที่ต้องการได้ ขึ้นอยู่กับขนาดที่สามารถขนส่งได้ ออกแบบได้หลากหลาย มีทั้งแบบที่ผลิตสำเร็จภายใน Module หรือผลิตแบบแยกเป็นหลาย Module แล้วนำไปติดตั้งต่อกันที่สถานที่ก่อสร้างทั้งแนวราบและแนวดิ่งได้หลายชั้น โดยใช้ระบบ Knock Down ในการติดตั้งให้เป็นไปตามหลักวิศวกรรม

การก่อสร้างระบบ Modular

Design of Modular System

การก่อสร้างระบบ Modular โดยทั่วไปจะแข็งแรงกว่าการก่อสร้างแบบสร้างกับที่ เพราะแต่ละ Module ถูกออกแบบให้เป็นอิสระในแต่ละ Module สามารถซ้อนกันได้หลายชั้นตามการออกแบบ ทนต่อความเสียหายจากการขนส่ง การยกและการเคลื่อนย้ายโดยรถยกหรือเครน วางยึดบนฐานรากเหมือนการก่อสร้างทั่วไป เมื่อประกอบและยึดเข้าด้วยกันแต่ละ Module จะกลายเป็นผนัง,พื้นและหลังคาแบบถาวร

การขนส่งและติดตั้งในระบบ Modular

การขนส่งและติดตั้งโดยใช้ระบบ Modular

การก่อสร้างระบบ Modular จะช่วยลดเวลาในการก่อสร้างเป็นอย่างมาก ปลอดภัยมากขึ้นเนื่องจากการก่อสร้างส่วนใหญ่อยู่ในโรงงานซึ่งได้ออกแบบให้เพื่อการผลิต Module โดยเฉพาะ จึงมีระบบความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน และใช้เวลาในการประกอบติดตั้งหน้างานน้อยมาก ระบบการก่อสร้างระบบ Modular ที่ออกแบบมาเป็นอย่างดี ใช้แรงงานติดตั้งที่สถานที่ก่อสร้างน้อย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดมลภาวะทางเสียง, ลดฝุ่นละออง, ลดขยะและเศษวัสดุในการก่อสร้าง ส่งผลให้สถานที่ก่อสร้างสะอาดกว่าวิธีการก่อสร้างแบบเดิมๆ

การก่อสร้างแบบทั่วไปกับการก่อสร้างโดยใช้ระบบ Modular

การก่อสร้างแบบทั่วไป (ภาพซ้าย) กับ การก่อสร้างโดยใช้ระบบ Modular (ภาพขวา)

มีการจัดการการก่อสร้างที่มีคุณภาพที่ดีกว่า เนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการผลิตจะถูกส่งมาที่โรงงานและจัดเก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อป้องกันความเสียหายหรือเสื่อมสภาพจากความชื้นและองค์ประกอบต่างๆ การผลิต Module ในโรงงานมีการควบคุมการผลิตได้ดีกว่า อีกทั้งยังสามารถตกแต่งภายนอกด้วยวัสดุตามต้องการและตกแต่งภายในให้เสร็จสมบูรณ์ได้ตั้งแต่กระบวนการผลิตในโรงงาน ทั้งห้องน้ำ ห้องครัว ห้องนอน ห้องรับแขก เฟอร์นิเจอร์ Built-In หรือพื้นที่ใช้สอยอื่น ๆ ควบคุมคุณภาพได้เป็นอย่างดี มีการตรวจสอบและทดสอบการรั่วของน้ำทั้งพื้นห้องน้ำ หลังคาและท่อต่าง ๆซึ่งเป็นปัญหาหลักของการก่อสร้างทั่วไป, ทดสอบการใช้งานของอุปกรณ์ต่าง ๆ, ทดสอบด้านไฟฟ้า แอร์ และเครื่องใช้อื่น ๆ, และทดสอบการประกอบติดตั้งก่อนจนแน่ใจว่าไม่มีปัญหาก่อนที่จะส่งไปติดตั้งที่สถานที่ก่อสร้าง

นอกเหนือจากการจัดการคุณภาพและเวลา การก่อสร้างระบบ Modular มีประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมายให้กับเจ้าของงานดังนี้คือ ช่วยลดโอกาสในการเกิดข้อบกพร่องเพราะมีคนตรวจสอบงานแทนเจ้าของงานทุกขั้นตอน, ช่วยให้การบำรุงรักษาง่ายและต้นทุนต่ำเพราะการก่อสร้างระบบ Modular ได้ออกแบบให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ งบประมาณไม่บานปลาย และยังส่งผลให้เจ้าของงานเปิดดำเนินกิจการได้รวดเร็วกว่าการก่อสร้างปรกติ ทำให้ระยะเวลาในการคืนทุนเร็วในเชิงธุรกิจ การก่อสร้างระบบ Modular สามารถนำไปทำโครงการก่อสร้างโรงแรมสำเร็จรูป, อพาร์ทเม้นท์สำเร็จรูป, รีสอร์ทสำเร็จรูป, บ้านสำเร็จรูป, ร้านค้าสำเร็จรูป, สำนักงานสำเร็จรูป, ร้านกาแฟสำเร็จรูปทั้งขนาดเล็ก, ขนาดใหญ่

โรงแรมสำเร็จรูป

โรงแรมสำเร็จรูป

อพาร์ทเม้นท์สำเร็จรูป

อพาร์ทเม้นท์สำเร็จรูป

รีสอร์ทสำเร็จรูป,ร้านกาปฟสำเร็จรูป

รีสอร์ทสำเร็จรูป - ร้านกาปฟสำเร็จรูป

สำนักงานสำเร็จรูป

สำนักงานสำเร็จรูป

บ้านสำเร็จรูป

บ้านสำเร็จรูป

ซึ่งสามารถสร้างได้หลายชั้น ระบบ Modular เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในต่างประเทศ ซึ่งเป็นระบบก่อนสร้างแบบทำสำเร็จทั้งหมดในโรงงานกว่า 80% ของงานก่อสร้างรวมถึงการตกแต่งภายใน การติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ Built-In ตลอดจนอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ก็สามารถติดตั้งจนเสร็จเรียบร้อยก่อนนำไปประกอบติดตั้งหน้างาน

ในปัจจุบันเราอาจจะเห็นการผสมผสานของการก่อสร้างสำเร็จรูปด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ เช่น ระบบการก่อสร้างกับที่ผสมผสานกับ Precast Concrete System, ระบบการก่อสร้างกับที่ผสมผสานกับ Knock Down System, ระบบการก่อสร้างกับที่ผสมผสานกับ Modular System or Prefabricate System หรืออาจจะผสมกันได้มากกว่า 2 ระบบก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดและระบบการจัดการในการก่อสร้าง ว่าเน้นในเรื่องของระยะเวลาการก่อสร้าง, เน้นในเรื่องของพื้นที่การใช้งานแข็งแรง ทนทาน เน้นในเรื่องของความละเอียดในการตกแต่ง เพื่อให้สวยงามตามสถาปัตยกรรมที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งการออกแบบให้ใช้ระบบสำเร็จรูปต่าง ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดในการก่อสร้างก็เป็นทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการหรือผู้ที่คิดลงทุนทำธุรกิจก่อสร้างโรงแรม อพาร์ทเม้นท์, รีสอร์ท, บ้าน, ร้านค้า, สำนักงาน, ร้านกาแฟ ทั้งขนาดเล็ก, ขนาดใหญ่ เพียงแค่เติมคำว่า “สำเร็จรูป” เข้าไป ก็จะทำให้การก่อสร้างต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

การก่อสร้างอาคารสำเร็จรูป

ระบบการก่อสร้างกับที่ผสมผสานกับ Precast Concrete System SCG Warehouse จังหวัดราชบุรี ปี 2557 ดำเนินการก่อสร้างโดย บริษัท สเตท คอนสตรัคชั่น จำกัด และ บริษัท โมเดิร์น โมดูลาร์ จำกัด ในเครื่อ เสตท กรุ๊ป

การก่อสร้างอาคารสำเร็จรูป

ระบบการก่อสร้างกับที่ผสมผสานกับ Modular System or Prefabricate System

ผลงานของเรา